วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. นางผ่องศรี มีโคตร เลขานุการนายก เป็นตัวแทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ได้ร่วมทอดเทียนพรรษา ร่วมกับผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ข้าราชการ พนักงาน อบต.วังทอง ถวายเทียนพรรษาให้วัดภายในพื้นที่ตำวังทอง
โครงการส่งเสริมประเพณีทอดเทียนพรรษาประจำปี ๒๕๖๕
๑. หลักการและเหตุผล
"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดย
เหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปใน
ที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แต่พอเข้าฤดูฝนถนนหนทางเป็นโคลนเลนทั่วไปหมด และทางเดินบ้างสาย
ต้องผ่านไร่นา ซึ่งเจ้าของเขาไถหว่านปลูกพืชทั่วบริเวณเสียแล้ว การเดินทางไม่สู้สะดวก จึงไม่มีใครไปไหนมาไหน
โดยไม่จำเป็น เพราะเกรงจะเหยียบย่ำเข้าไปในนาทำให้เกิดความเสียหาย พระพุทธองค์ทรงทราบดี จึงตั้งระเบียบ
การจำพรรษาขึ้น ให้พระภิกษุสงฆ์หยุดพักการเดินทางระหว่างฤดูฝน กำหนดตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงขึ้น
๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ รวมเวลา ๓ เดือนเต็ม ชาวบ้านจึงได้ปลูกเพิงหรือสร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของ
สงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ การปฏิบัติตนในวันนี้หรือก่อนหน้านี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะ เช่น
ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ มาถวายพระภิกษุที่ตนเครพนับถือ ที่สำคัญ คือ มีประเพณีหล่อเทียนพรรษาเพื่อทอด
ถวายให้พระสงฆ์จัดจุดบูชาพระประธานในโบ่สถ์ตลอด ๓ เดือน มีกิจกรรมต่ง ๆ ที่ควรปฏิบัติในเข้าพรรษาได้แก่
ร่วมกิจกรรมนำเทียนจำนำพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน จตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร ร่วมทำบุญตักบาตร ฟังธรรม
เทศนา รักษาศีล อธิษฐานงดเว้นอบายมุข โดยปกติซึ่งชาวพุทธทุกคนจะต้องพึ่งปฏิบัติ ตามวิถีของชาวพุทธ
รวมทั้งเรียนรู้การปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม ตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยในการเข้าร่วม
กิจกรรมทางศาสนา เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่สำคัญในสมัยพุทธกาล และยังได้ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นบุญกุศลสำหรับ
ตนเองและผู้อื่น ชุมชนได้มีโอกาสได้ร่วมส่งเสริมและสืบสานพระพุทธศาสนา และร่วมกันอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม
ประเพณีอันดีงามให้คงอยู่สืบไป
องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติ
กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจ่ายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ ได้กำหนดหน้าที่ของ
อุบต.ไว้ในมาตรา ๑๖ มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชาชนใน
ท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของ
ท้องถิ่น และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๔๓๗ และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปี
จุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองจึงจัดให้มีโครงกทอดเทียนและถวายเทียนพรรษาขึ้น
อนุรักษ์วัฒธรรมและประเพณีอันดีงามของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป
วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อให้ ประชาชนในตำบลวังทอง ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของวันเข้าพรรษาและได้
ปฏิบัติตามประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และถือปฏิบัติกันสืบต่อกันไป
๒.๒ เพื่อให้ เด็ก เยาวชน ประชาชน ทำนุบำรุงศาสนาวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
๒.๓ เด็ก เยาวชน ประชาชน ในตำบลวังทอง ได้ประพฤติปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสมตามวิถีของชาว
พุทธและทำร่วมกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ
๓.๑ ประชุมปรึกษาหารือ
๓.๒ จัดทำเสนอขออนุมัติโครงการ
๓.๓ ประสานงาน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต.โรงเรียนและวัดภายในตำบลวังทอง
๓.๔ ประชาสัมพันธ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
๓.๕ ทอดถวายเทียนตามวัดในตำบลวังทอง รวม ๑๒ วัด (ทุกวันพระ) ในห้วงเข้าพรรษา
๓.๖ ดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
๓.๗ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน
๔. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๔.๑ เพื่อให้ ประชาชนในตำบลวังทอง ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของวันเข้าพรรษาและได้
ปฏิบัติตามประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และถือปฏิบัติกันสืบต่อกันไป
๔.๒ เพื่อให้ เด็ก เยาวชน ประชาชน ทำนุบำรุงศาสนาวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
๔.๓ เด็ก เยาวชน ประชาชน ในตำบลวังทอง ได้ประพฤติปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสมตามวิถีของชาว
พุทธและทำร่วมกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
๕. สถานที่ดำเนินการ
วัดภายในตำบลวังทอง ๑๒ วัด
๖. ระยะเวลาดำเนินการ
ภายในเดือน กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๕
|