องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู : www.wangthongnb.go.th

 
 
 


วันที่ 23 สิงหาคม 2564 เวลา 09.30 น. ณ วัดภูฝางสันติธรรม ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง เป็นประธานในพิธีและได้ร่วมทอดเทียนพรรษา ร่วมกับผู้ชุมชนและผู้นำท้องถิ่น


โครงการส่งเสริมประเพณีทอดเทียนพรรษาประจำปี  ๒๕๖๔
๑. หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยของเรามีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  และมีพิธีกรรมและทางปฏิบัติที๋พุทธศาสนิกชนมี
ส่วนร่วมปฏิบ้ติ  เพื่อเป็นเครื่องยืดเหนี่ยวจิตใจ  ทั้งยังมีวันสำคัญทางศาสนาหลายวันเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา และในวันสำคัญประเพณีทอดเทียนพรรษา  ซึ่งชาวพุทธล้วนจะต้องปฏิบัติ เช่น  ทำบุญตักบาตร  รักษาศีล ปฏิบัติกิจกรรมอันเป็นกุศลและสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ในประเทศไทย การถวายเทียนพรรษาจัดเป็นพิธีใหญ่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยรัตนโกสินทร์การถวายเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญโดยจะเรียกว่าพุ่มเทียนมีการพระราชทานถวายพุ่มเทียนรวมถึงโคมเพื่อจุดบูชาตามอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง ซึ่งพิธีนี้ยังคงมีมาจนปัจจุบัน ซึ่งชาวอีสานนิยมทำบุญตามคติคำ สั่งสอนของโบราณที่ได้ถือปฏิบัติสืบทอด มาจนถึงปัจจุบัน คือ “ประเพณีฮีตสิบสอง” ซึ่งเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียมประเพณีตามหลักคำสอนใน พระพุทธศาสนาทำให้คนอีสานยึดมั่นในการทำบุญตามจารีตประเพณี ฮีตสิบสองมาเป็นเวลานาน คือทำบุญ ทุกเดือนในรอบหนึ่งปี ได้จำแนกประเพณีการทำบุญที่ชาวอีสานนิยมปฏิบัติกันเป็นประจำทุกเดือน เดือนแปด (กรกฎาคม) พิธี บุญเข้าพรรษา ชาวบ้านจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด และแห่เทียนพรรษาไปวัด มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน ธูป เทียน ฟังเทศน์ และเวียน เทียน ทายกทายิกาไปถือศีล ปฏิบัติธรรมในวันธรรมะสวนะ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ตลอดช่วงเทศกาล เข้าพรรษา
 ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจ่ายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒  ได้กำหนดหน้าที่ของ อบต.ไว้ในมาตรา  ๑๖  มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และพระราชบัญญัติสภาตำบล  พ.ศ.๒๔๓๗  และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปีปัจจุบัน  องค์การบริหารส่วนตำบลวังทองจึงจัดให้มีโครงการทอดเทียนและถวายเทียนพรรษาขึ้น  เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป  รวมทั้งได้ให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด  ๓  เดือน  และเป็นกุศลท่านอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสง  อีกทั้งเป็นการร่วมสร้างวัฒนธรรมที่ดีแก่หน่วยงานราชการ องค์กร กลุ่มจัดตั้งต่าง ๆในตำบลร่วมกิจกรรมทางศาสนา
 ๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อให้ เด็ก เยาวชน ประชาชนในตำบล ได้เห็นประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และถือปฏิบัติกันสืบต่อกันไป
๒.๒ เพื่อให้ เด็ก เยาวชน ประชาชน  ทำนุบำรุงศาสนาวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
๒.๓ เด็ก เยาวชน ประชาชน ในตำบล ได้รู้จักความสำคัญของประเพณี และรู้จักรัก สามัคคีกันขึ้น ป้องกันการทะเลาะวิวาท
๓. เป้าหมาย
๓.๑ จัดงานประเพณีทอดเทียนพรรษา  
๓.๒ เด็ก เยาวชน ประชาชน ในตำบล ผู้เข้าวัด ปฏิบัติธรรม ในวันพระ .....๕๐..... คน
๔. ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ
๔.๑ จัดทำเสนอขออนุมัติโครงการ
๔.๒ ประสานงาน หมู่บ้าน  โรงเรียน และวัด ภายในตำบล




2024-06-18
2024-06-12
2024-06-10
2024-06-07
2024-06-06
2024-06-03
2024-05-29
2024-05-02
2024-05-01
2024-04-29